ทฤษฎีสีกับการออกแบบงานสิ่งพิมพ์ (ตอนที่ 1 สีที่สวย)
การใช้สีในงานสิ่งพิมพ์มีความแตกต่างจากการศึกษาทฤษฎีสีในการเรียนวิชาศิลปะ หรือการใช้สีงานสิ่งพิมพ์ก็แขนงย่อยๆในทฤษฎีสีวิชาศิลปะก็ว่าได้ เนื่องจากการใช้สีในการออกแบบงานพิมพ์ถูกจำกัดแค่ C=ฟ้า M=ชมพู Y=เหลือง และ K=ดำ การสั่งสีให้แก่งาน Graphic Design ในงานสิ่งพิมพ์นั้น ผู้ที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าสีที่สวยไม่ใช่สีที่สำเร็จมาให้ใช้ในโปรแกรมออกแบบ แดงที่สวยเข้มก็ไม่ใช่ Y100-M100 สีฟ้าสวยๆก็ไม่ใช่ C100 ดำเข้มก็ไม่ใช่ K100 ยกตัวอย่างเช่น สีน้ำเงินในสีธงชาติไทย หากสั่งสี M100-C100 ดูตามหน้าจอจะเป็นสีน้ำเงิน แต่เมื่อพิมพ์ออกมาจะได้สีน้ำเงินม่วง เป็นต้น
สีส้มแป๊ด สีเขียวมะนาว และสีน้ำเงินบลูสกรีน ในงานสิ่งพิมพ์นั้น ไม่มี... จะมีให้เห็นได้เฉพาะหน้าจอมอนิเตอร์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ ที่เราเห็นจากงานพิมพ์นั้น ผู้มีประสบการณ์จะสามารถสั่งสีให้ได้ใกล้เคียง หรือใช้การลวงตาเข้าช่วย ให้ได้สีส้ม เขียว น้ำเงินตามใจต้องการได้ เช่นกัน
แต่...การใช้สีเพื่องานออกแบบสิ่งพิมพ์ สีพื้นๆอย่าง C100 M100 Y100 หรือ K100 ก็สร้างงานออกมาได้สวย ตาม Concept การออกแบบของนักออกแบบได้ ขึ้นอยู่กับความฉลาดในการเลือกวิธีการนำเสนอรูปแบบนั่นเอง
สีส้มแป๊ด สีเขียวมะนาว และสีน้ำเงินบลูสกรีน ในงานสิ่งพิมพ์นั้น ไม่มี... จะมีให้เห็นได้เฉพาะหน้าจอมอนิเตอร์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ ที่เราเห็นจากงานพิมพ์นั้น ผู้มีประสบการณ์จะสามารถสั่งสีให้ได้ใกล้เคียง หรือใช้การลวงตาเข้าช่วย ให้ได้สีส้ม เขียว น้ำเงินตามใจต้องการได้ เช่นกัน
แต่...การใช้สีเพื่องานออกแบบสิ่งพิมพ์ สีพื้นๆอย่าง C100 M100 Y100 หรือ K100 ก็สร้างงานออกมาได้สวย ตาม Concept การออกแบบของนักออกแบบได้ ขึ้นอยู่กับความฉลาดในการเลือกวิธีการนำเสนอรูปแบบนั่นเอง
0 Comments: