บทความ : ทฤษฎีสีกับการออกแบบงานสิ่งพิมพ์ (ตอนที่ 2 สีพิเศษ)
สีพิเศษในระบบงานพิมพ์ คือสีสีเดียวที่เป็นสีตัวมันเอง ไม่ได้ผสมโดยการลวงตาแบบสอดสีให้ดูเป็นสีนั้นๆ เช่น สีส้มพิเศษ ไม่ได้เกิดการพิมพ์สอดสีประสานกันระหว่างสีเหลืองกับชมพูให้เกิดการลวงตาดูเป็นสีส้ม หากใช้แว่นขยายส่องดูก็จะเห็นสีส้มเพียงแค่สีเดียว แม่จะลดเปอร์เซ็นต์สีลง ก็จะเห็นเพียงเม็ดสีส้มสีเดียวเท่านั้น
สีพิเศษมีความสด แน่น ของสี งานที่พิมพ์ด้วยสีพิเศษมักดูแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ใช้มากในหัวหนังสือนิตยสารดีดี และงานหนังสือญี่ปุ่นที่นิยมใช้สีพิเศษแบบสะท้อนแสง มีความแตกต่างจากสีทั่วไป เนื่องจากมีการผสมสารเรืองแสง สีพิเศษบางอย่างดูมันวาวเพราะผสมสาร metallic ยังมีอีกมากมายสำหรับเรื่องสีพิเศษ ผู้สนใจลองศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จะทำให้ผลงานมีความโดดเด่นและแตกต่าง
โดยมาก Designer มักเลือกใช้ Pantone เป็นตัวกำหนดสีพิเศษ ถือว่าเป็นมาตรฐานสากลที่รู้กันระหว่างนักออกแบบกับร้านเพลทและโรงพิมพ์ สีก็จะตรงกัน แต่นั่นก็ไม่จำเป็นต้องตามนั้นเสมอไป หากคุณมีสีที่ชอบและมีตัวอย่าง ก็นำชิ้นสีนั้นไปให้โรงพิมพ์ เพื่อผสมสีพิมพ์ตามให้ตรง ก็ได้เช่นกัน
แต่โดยส่วนตัว มักจะมีสีในใจที่ทำให้ดูเหมือนสีพิเศษ เอามาใช้ในจังหวะที่เหมาะสม ก็ไม่ต้องอาศัยสีพิเศษ ผลงานก็ดูมีสีสันโดดเด่นครับ
สีพิเศษมีความสด แน่น ของสี งานที่พิมพ์ด้วยสีพิเศษมักดูแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ใช้มากในหัวหนังสือนิตยสารดีดี และงานหนังสือญี่ปุ่นที่นิยมใช้สีพิเศษแบบสะท้อนแสง มีความแตกต่างจากสีทั่วไป เนื่องจากมีการผสมสารเรืองแสง สีพิเศษบางอย่างดูมันวาวเพราะผสมสาร metallic ยังมีอีกมากมายสำหรับเรื่องสีพิเศษ ผู้สนใจลองศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จะทำให้ผลงานมีความโดดเด่นและแตกต่าง
โดยมาก Designer มักเลือกใช้ Pantone เป็นตัวกำหนดสีพิเศษ ถือว่าเป็นมาตรฐานสากลที่รู้กันระหว่างนักออกแบบกับร้านเพลทและโรงพิมพ์ สีก็จะตรงกัน แต่นั่นก็ไม่จำเป็นต้องตามนั้นเสมอไป หากคุณมีสีที่ชอบและมีตัวอย่าง ก็นำชิ้นสีนั้นไปให้โรงพิมพ์ เพื่อผสมสีพิมพ์ตามให้ตรง ก็ได้เช่นกัน
แต่โดยส่วนตัว มักจะมีสีในใจที่ทำให้ดูเหมือนสีพิเศษ เอามาใช้ในจังหวะที่เหมาะสม ก็ไม่ต้องอาศัยสีพิเศษ ผลงานก็ดูมีสีสันโดดเด่นครับ
0 Comments: