บทความ : ทฤษฎีสีกับการออกแบบงานสิ่งพิมพ์ (ตอนที่ 3 ความหมายของสี)
การทำงานอาร์ตเวิร์คก็มีหลักการเหมือนการสร้างสรรค์งานศิลปะ ขณะที่ผู้ออกแบบกำลังสั่งสีลงไปในงาน หากเพิ่มเติมหรือคิดถึงความหมาย ให้สีนั้นๆมีความหมายได้ด้วย พิถีพิถันในการเลือกสีลงในงาน สร้างให้เกิดความหมายเชิงลึก เช่น การออกแบบหนังสือ 3 เล่ม เล่มแรกเรื่อง "ต้นกล้า" เล่มที่ 2 เรื่อง ดิจิตอลไฮไฟ เล่มที่ 3 เรื่องทหารและการสู้รบ โดยมีโจษให้ใช้ "สีเขียว" ทั้ง 3 เล่ม จะเห็นได้ว่า สีเขียวของทั้ง 3 เล่มไม่เหมือนกันแน่ๆ ความพิถีพิถันในความใส่ใจในงานก็เกิดระบบความคิดขึ้น เล่มแรกอาจจะเป็นสีเขียวอ่อนสดๆ เล่มที่สองก็เป็นสีเขียวอ่อนแบบสว่างๆ ส่วนเล่มที่ 3 ก็อาจจะเป็นสีเขียวขี้ม้าแบบทหาร เป็นต้น
จากตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นภาพ เราจะเข้าใจ "ความหมายของการใช้สี" แล้ว การผลิตชิ้นงานต่อๆไป อย่าลืมให้ความสำคัญและใส่ความหมายของสีด้วยนะครับ หากใช้จนช่ำชองก็จะเข้าถึงสีที่แสดงอารมณ์ได้ เช่น ความสุข เศร้า เหงา หรืออารมณ์รัก ก็ได้ ลองฝึกทักษะนี้ดูนะครับ หากพัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูง ก็จะรู้ถึงค่าสีที่มีความหมายลึกลงไปอีก เช่น สีที่แสดงความเหงามากเหงาน้อย เหงาห่อเหี่ยว หรือเหงาเพลินๆ ลองดูครับไม่ยากเกินจะเข้าใจ แล้วผลงานจะมีเสน่ห์มีคุณค่าเกินอาร์ตเวิร์คธรรมดาๆ
ขอให้มีความสุขกับงานออกแบบนะครับ
จากตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นภาพ เราจะเข้าใจ "ความหมายของการใช้สี" แล้ว การผลิตชิ้นงานต่อๆไป อย่าลืมให้ความสำคัญและใส่ความหมายของสีด้วยนะครับ หากใช้จนช่ำชองก็จะเข้าถึงสีที่แสดงอารมณ์ได้ เช่น ความสุข เศร้า เหงา หรืออารมณ์รัก ก็ได้ ลองฝึกทักษะนี้ดูนะครับ หากพัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูง ก็จะรู้ถึงค่าสีที่มีความหมายลึกลงไปอีก เช่น สีที่แสดงความเหงามากเหงาน้อย เหงาห่อเหี่ยว หรือเหงาเพลินๆ ลองดูครับไม่ยากเกินจะเข้าใจ แล้วผลงานจะมีเสน่ห์มีคุณค่าเกินอาร์ตเวิร์คธรรมดาๆ
ขอให้มีความสุขกับงานออกแบบนะครับ
0 Comments: